Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home บริการและความชำนาญพิเศษ อายุรศาสตร์หัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจโดยการใส่สายตรวจทางหลอดอาหาร
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจด้วยการใส่สายตรวจผ่านหลอดอาหาร PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 14:50 น.

การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจด้วยการใส่สายตรวจผ่านหลอดอาหาร คืออะไร

คำตอบ ดูวิดิโอนี้ https://www.youtube.com/watch?v=EAarvQynTH4

คือการตรวจโดยใส่สายตรวจที่ผลิตคลื่นเสียงความถี่สูง ผ่านช่องปากไปยังหลอดอาหาร เพื่อตรวจดูโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ ซึ่งได้ภาพที่ชัดเจนกว่าการตรวจผ่านผนังหน้าอก ปัจจุบันสามารถตรวจได้ทั้งภาพสองและสามมิติ

 

 

 

 

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  • งดน้ำงดอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • ควรนำญาติหรือผู้ติดตามมาด้วย
  • ห้ามขับรถหลังจากการตรวจ เนื่องจากส่วนใหญ่มักให้ยาให้ผู้ป่วยรู้สึกคลายกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ (conscious sedation) ซึ่งมีฤทธิ์ง่วงนอน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุหลังขับรถ

แจ้งแพทย์หากมีสิ่งต่อไปนี้

  • ประวัติแพ้ยา
  • กลืนลำบาก  หรือโรคหลอดอาหาร
  • โรคตับแข็ง
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกในทางเดินอาหาร
  • โรคข้อรูมาทรอยด์
  • มีประวัติได้รับรังสีบริเวณช่องอก

การเตรียมตัวเมื่อมาตรวจ

  • ถอดแว่น
  • ถอดฟันปลอม
  • ปิดโทรศัพท์มือถือ
  • เปลี่ยนเสื้อผ้า
  • ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
  • เข้าห้องตรวจ
  • ท่านจะได้รับการอธิบายอีกครั้งหนึ่งและเซนต์เอกสารยินยอมให้ตรวจ (แต่ถ้าเซนต์แล้วก็ไ ม่จำเป็นต้องเซนต์ซ้ำ)

ขั้นตอนการตรวจ

  • แพทย์หรือพยาบาลจะให้ท่านอมยาชา เพื่อให้คอชา ไม่รู้สึกเจ็บเมื่อกลืนกล้อง
  • จากนั้นแพทย์หรือพยาบาลจะพ่นยาชาบริเวณลำคอเพื่อให้ คอชาเพิ่มขึ้น
  • หลังจากนั้นท่านจะต้องนอนตะแคงซ้าย
  • วัดความดันและชีพจร และร้อยละของออกซิเจนในเลือด (มีคลิปหนีบที่ปลายนิ้ว)
  • แพทย์จะให้ยาคลายกล้ามเนื้อบริเวณลำคอทางหลอดเลือดดำ

สิ่งซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติระหว่างทำการตรวจ

  • ให้ความร่วมมือในการกลืนสายตรวจ ตามที่แพทย์บอก
  • พยายามนอนก้มหน้า คางชิดอก ระหว่างกลืน เพื่อให้สายตรวจลงไปได้สะดวก
  • เมื่อกลืนสายตรวจลงไปแล้ว แพทย์จะบอกให้หยุดกลืน และ นอนหลับตา และ ผ่อนคลาย
  • หากมีน้ำลายให้ปล่อยไหลทางปาก
  • หายใจทางจมูก
  • ห้ามพูดหรือส่งเสียงขณะสายตรวจอยู่ในหลอดอาหารเพราะอาจทำให้เกิดอาการเจ็บคอได้หลังการตรวจ

 

ข้อปฏิบัติตัวหลังจากที่ทำหัตถการ :

  • ห้ามรับประทานอาหารจนกว่ายาชาจะหมดฤทธิ์ เพราะจะทำให้สำลักได้ ให้รอจนคอหายชาแล้วค่อยเริ่มจิบน้ำดู ระวังสำลัก กลืนได้ดีค่อยรับประทานอาหารตามปกติ
  • ไม่ขับรถหรือยานพาหนะหรือการใช้เครื่องจักรกล อย่างน้อย 12 ชั่วโมง ถ้าได้รับยานอนหลับห้ามขับรถหลังจากการตรวจ เนื่องจากส่วนใหญ่มักให้ยาให้ผู้ป่วยรู้สึกคลายกล้ามเนื้อบริเวณลำคอ (conscious sedation) ซึ่งมีฤทธิ์ง่วงนอน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
  • หลังจากทำหัตถการ หากท่านได้รับยาคลายกล้ามเนื้อบริเวณลำคอทางหลอดเลือดดำ ท่านจะได้รับการดูแลต่อเนื่องโดยการติดตามความดันโลหิตและชีพจร อีกประมาณ 15 นาที เพื่อให้แน่ใจว่าท่านสามารถกำลับบ้านได้

 

ระยะเวลาในการตรวจ : แล้วแต่กรณี ส่วนใหญ่มักใช้เวลาประมาณ 15-45 นาที

 

การให้บริการ:

 

  • ในเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์   เวลา 08.00-16.00
  • นอกเวลาราชการ: วันจันทร์และอังคาร เวลา 16.00 – 20.00

 

สถานที่ ตึกภูมิสิริฯ ชั้น 4

 

 

 

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14383165