Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home บริการและความชำนาญพิเศษ อายุรศาสตร์หัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะออกกำลังกายหรือให้ยากระตุ้นหัวใจ
การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขณะออกกำลังกายหรือให้ยากระตุ้น PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 14:59 น.

คืออะไร:

คำตอบ ดูวิดิโอ คลิ๊กที่นี่  https://www.youtube.com/watch?v=-bEL_C8JacI&feature=youtu.be

คือการตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ที่ตอบสนองต่อการกระตุ้นให้ทำงานหนักและเต้นเร็วขึ้นโดยการออกกำลังกาย (เดินสายพาน หรือปั่นจักรยาน) หรือการใช้ยา (Dobutamine) ถ้าไม่สามารถออกกำลังกายได้ เพื่อให้การเต้นของหัวใจถึงเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อวินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หรือความรุนแรงของลิ้นหัวใจกรณีมีความยุ่งยากในการประเมิน จะมีการประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ระหว่างการทดสอบ จะมีการเก็บภาพพื้นฐานก่อนออกกำลังกาย ระหว่างออกกำลังกาย ช่วงที่มีการกระตุ้นการทำงานของหัวใจมากที่สุด และระหว่างพักหลังออกกำลังกาย แตกต่างจากการเดินสายพานธรรมดา คือมีการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงมาประกอบให้เห็นภาพ เพิ่มความแม่นยำและถูกต้องในการวินิจฉัย

ผู้ป่วยรายใดควรได้รับตรวจ/หัตถการ/รักษา ด้วยวิธีนี้:

  • ผู้ที่สงสัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่มีการทำงานของลิ้นหัวใจตีบที่มีความยุ่งยากในการประเมินความรุนแรง
  • ประเมินก่อนทำการผ่าตัดในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง

ข้อห้ามและข้อระวัง:

ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายใน 72 ชั่วโมง

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  • งดอาหารและน้ำก่อนเวลานัดตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง รับประทานยาประจำได้ตามปกติ
  • หยุดยา beta blocker 48 ชั่วโมงเฉพาะก่อนเข้ารับการตรวจ Dobutamine stress echo.
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากไม่สามารถเดินสายพานหรือปั่นจักรยานได้
  • เตรียมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย หลวมๆ และกางเกงที่ไม่รุ่มร่าม
  • เตรียมรองเท้าสำหรับใส่วิ่งที่สบายๆ มาเดินสายพาน
  • แจ้งให้แพทย์ผู้ทำการตรวจทราบถึงโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นในวันที่เดินสายพาน
  • เซ็นต์ใบยินยอมเข้ารับการตรวจ
  • เตรียมเอกสารสิทธิ์การรักษาให้พร้อม

ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน: ไม่ต้องดมยา ความเสี่ยงน้อยมาก ความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดได้จาก การแพ้ยา dobutamine การเกิดกระแสไฟฟ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลว

ข้อปฏิบัติตัวหลังจากที่ทำหัตถการ : ปฏิบัติตัวได้ตามปกติ

วันและเวลาทำการ

  • ในเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์   เวลา 08.00-16.00

สถานที่ ตึกภูมิสิริฯชั้น 4

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14383262