การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ |
![]() |
![]() |
![]() |
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 13:06 น. |
การปลูกถ่ายหัวใจเป็นการผ่าตัดสำหรับผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวระยะสุดท้ายที่มีอาการเหนื่อยหอบ หัวใจขาดเลือด หรือ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงซึ่งไม่สามารถให้การรักษาด้วยวิธีอื่นได้ การผ่าตัดจะผ่าหัวใจเดิมของผู้ป่วยออกและใส่หัวใจใหม่ของผู้บริจาคหัวใจ (ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มีสมองตาย) โดยเย็บรอยต่อระหว่างเส้นเลือดขั้วหัวใจ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีชีวิติและคุณภาพชีวิตที่ดีหลังจากปลูกถ่ายหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจได้สำเร็จเป็นรายแรกของประเทศไทยและของอาเซียน โดยผู้ป่วยดังกล่าวได้รับการผ่าตัดประมาณ 20 ปีก่อน ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผู้ป่วยที่ได้รับการพิจารณาปลูกถ่ายหัวใจ จำเป็นจะต้องได้รับการประเมินและการตรวจทางห้องปฏิบัติการมากมายอย่างละเอียด โดยมีความมุ่งหวังเพื่อให้ผลการปลูกถ่ายเป็นไปได้ด้วยดีและได้ประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วย ทีมบุคลการทางการแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนและหลังปลูกถ่ายหัวใจ 1. ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก - รองศาสตราจารย์ นายแพทย์กิตติชัย เหลืองทวีบุญ - อาจารย์นายแพทย์ พัชร อ่องจริต 2. อายุรแพทย์หัวใจ - อาจารย์แพทย์หญิง ศริญญา ภูวนันท์ - อาจารย์นายแพทย์สราวุฒิ ศิวะโฆกษธรรม 3. พยาบาลประสานงานการปลูกถ่ายหัวใจ - นางสุภาภรณ์ ศรีตั้งสิริกุล - นางสาว ศิโรรัจน์ แก้ววงดี 4. นักจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์ ศูนย์ประสานงานการปลูกถ่ายอวัยวะ ตึกสิรินธรชั้น 4 โทรศัพท์: 0-2256-4286, 0-2256-4614 โทรสาร : 02-2564624 |
บริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ (กรุณาคลิ๊กที่นี่)