Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home ข้อมูลสุขภาพ การบรรเทาความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดหัวใจ
การบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัด PDF พิมพ์ อีเมล
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 15:20 น.

การบรรเทาความเจ็บปวดสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ

ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจต้องประสบกับความปวดด้วยกันทุกคน แต่ความปวดนั้นสามารถบรรเทาได้ โดยวิธีการให้ยาระงับปวดซึ่งผู้ป่วยทุกราย จะต้องได้รับภายหลังการผ่าตัด ร่วมกับวิธีการไม่ใช้ยาคู่มือนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อประกอบการให้ข้อมูลกับผู้ป่วยในเรื่องการบรรเทาความปวดหลังผ่าตัดหัวใจ โดยเนื้อหา ประกอบด้วย สาเหตุ ชนิด ความรุนแรง ลักษณะ ระยะเวลา และตำแหน่ง ของความปวด กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่อาจมีผลต่อความปวด การประเมินความปวด การบรรเทาความปวดด้วยวิธีการใช้ยา และไม่ใช้ยา รวมทั้ง ประโยชน์ของการบรรเทาความปวดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง และ มีกำลังใจในการร่วมมือในการรักษา และจัดการกับความปวดหลังการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การบรรเทาความปวดหลังการผ่าตัดหัวใจ มี 2 วิธี คือ โดยวิธีการใช้ยาบรรเทาปวด ซึ่งท่านจะได้รับตามความเหมาะสมทุกคน และวิธีที่ไม่ใช้ยาเป็นวิธีที่ท่านสามารถเลือกปฏิบัติได้ตามความคุ้นเคยความชอบและความเหมาะสมของแต่ละคน ดังนั้นเมื่อมีการประเมินความปวด สิ่งสำคัญคือ ท่านควรบอกความรู้สึกปวดตามความเป็นจริงและไม่ต้องกลัวหรือเกรงใจที่จะบอกความปวดกับแพทย์และพยาบาล เพื่อที่ท่านจะได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง

เมื่อท่านได้เรียนรู้ เข้าใจและสามารถฝึกปฏิบัติในการบรรเทาความปวดโดยวิธีต่างๆ ได้แล้ว ก็จะช่วยให้ท่านสามารถฟื้นหายได้โดยเร็วและกลับไปดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ

ความหมาย ความปวดเป็นความรู้สึกที่ไม่สุขสบาย

สาเหตุ เกิดจากแผลและการเจ็บของเนื้อเยี่อขณะผ่าตัด

· ความปวด หลังการผ่าตัดหัวใจ

o การผ่าตัดหัวใจส่วนใหญ่จะใช้วิธีผ่าตัดเปิดทรวงอก

o เมื่อการผ่าตัดเสร็จสิ้นแพทย์จะใส่สายระบายทรวงอกไว้

· ลักษณะของความปวด

ความปวดหลังผ่าตัดหัวใจ จะเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาไม่นาน โดยในช่วง หลังการผ่าตัดวันที่ 1-3 ท่านอาจมีความรู้สึกปวดค่อนข้างมาก ซึ่งลักษณะความปวดอาจเป็นความรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดตึงๆ เจ็บจิ๊ดปวดตุ๊บๆ แน่นๆ หรือปวดเมื่อย ปกติความปวดจะค่อยลดลงหลังการผ่าตัดวันที่ 3 โดยค่อยๆ ลดลง เรื่อยๆตามระยะเวลา ซึ่งส่วนใหญ่ความปวดจะลดลงอย่างมากประมาณ ช่วงหลังผ่าตัดได้ 1-2 สัปดาห์ และความปวดจะหมดไปภายใน 1-2 เดือน หลังการผ่าตัด


· ตำแหน่งของความปวด


ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจด้วยวิธีผ่ากลางกระดูกสันอก มักจะรู้สึกปวดหรือไม่สุขสบาย ในบริเวณตำแหน่งที่ 1-5

ส่วน ในรายที่ทำผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจจะปวดในบริเวณตำแหน่งที่ 6 และ 7 เพิ่มขึ้นได้

· กิจกรรมการรักษาพยาบาลที่มีผลต่อความปวด

กิจกรรมเพื่อการรักษาพยาบาล มีความจำเป็นที่ต้องกระทำเพื่อความปลอดภัยและส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพของท่าน แต่อย่างไรก็ตามก็อาจจะทำท่านรู้สึกไม่สุขสบาย หรือปวดแผลได้บ้าง

กิจกรรมการรักษาพยาบาลดังกล่าว ได้แก่

 

o การดูดเสมหะทางท่อช่วยหายใจ

o การถอดท่อระบายทรวงอกออก

o การกระตุ้นให้ไอ

o การบริหารการหายใจ โดยการหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ หรือการใช้อุปกรณ์

o การเริ่มให้เคลื่อนไหว พลิกตัวบนเตียง การบริหารร่างกายบนเตียง

o การให้ลุกลงจากเตียงเพื่อนั่งเก้าอี้

o การให้เริ่มเดิน

เป็นต้น

 

ดังนั้นพยาบาลจะประเมินความปวดก่อนทำกิจกรรม และ จะช่วยบรรเทาความปวดด้วยวิธีต่างๆเพื่อให้ท่านมีความพร้อมในการเริ่มกิจกรรม และมีความปวดขณะทำกิจกรรมน้อยที่สุด

· การประเมินความปวด

เพื่อการสื่อสารที่ตรงกันถึงระดับความปวด จึงมีการประเมินความปวดเป็นคะแนน โดยท่านจะเป็นผู้เลือกระดับคะแนนความรุนแรง ของความปวดตามความรู้สึกของตนเอง


ระดับความปวดที่ประเมินแบ่งเป็น 3 ระดับคือ

คะแนน 1 -3 หมายถึง ปวดเล็กน้อย

คะแนน 4-6 หมายถึง ปวดปานกลาง

คะแนน 7-10 หมายถึง ปวดรุนแรงมาก

© ในระยะ 24- 48 ชั่วโมงแรก หลังการผ่าตัด ท่านจะได้รับการประเมินความปวด อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง หลังจากนั้น ถ้าความปวดของท่านอยู่ในระดับ เล็กน้อยหรือ สามารถควบคุมความปวดได้ ท่านจะได้รับการประเมินความปวดทุก 4 ชั่วโมง พร้อมสัญญาณชีพ หรือก่อนเริ่มกิจกรรมการรักษาพยาบาลที่มีผลต่อความปวด

© การประเมินความปวด จะทำให้แนวทางการรักษาพยาบาล เพื่อบรรเทา

ความปวดมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

· การบรรเทาความปวดโดยวิธีการใช้ยา

หลังผ่าตัดท่านจะได้รับยาบรรเทาความปวด ทันที ที่ท่านเริ่มรู้สึกตัว ดังนี้

หลังการผ่าตัดวันแรก

ท่านต้องพักรักษาใน ไอซียู พยาบาลจะประเมินความปวดของท่านทันทีที่ท่านเริ่มรู้สึกตัว และท่านจะได้รับยาบรรเทาความปวด โดยการหยดเข้าทางหลอดดำอย่างต่อเนื่อง

หลังการผ่าตัดวันที่หนึ่งเป็นต้นไป

เมื่อท่านสามารถรับประทานได้แล้ว จะเปลี่ยนเป็นยาบรรเทาความปวดชนิดรับประทาน เช่น พาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง อาจร่วมกับการรับประทานยาบรรเทาความปวดชนิดอื่น และหากไม่สามารถบรรเทาความปวดด้วยยาชนิดรับประทานได้ จะพิจารณาให้ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำได้เป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม

ดังนั้นการรับประทานยาบรรเทาความปวดอย่างสม่ำเสมอตามเวลา จะช่วยให้ท่านควบคุมความปวดได้ดีกว่าการรอให้มีความปวดมากแล้วจึงค่อยรับประทานยา และถ้าหากรับประทานยาตามเวลาแล้วยังรู้สึกปวดมาก ให้แจ้งพยาบาลทราบ

· การบรรเทาความปวดโดยวิธีที่ไม่ใช้ยา

เป็นวิธีการพยาบาลที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการบรรเทาความปวดด้วยยา เช่น


1. การนวดคลึงเบาๆ บริเวณ ที่ไม่มีแผลหรือสายน้ำเกลือ เช่น มือ, เท้า,

หลัง หรือสะโพก เป็นต้น จะช่วยยับยั้งการส่งกระแสประสาทขอ

ความปวด ทำให้กา รไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อ

คลายความเครียด ลดความกังวล ผู้ป่วยจึงรู้สึกผ่อนคลาย

และช่วยให้หลับสบาย


2. การผ่อนคลายโดยใช้การฝึกการหายใจลึกๆ ยาวๆ หรือทำสมาธิ

ช่วยให้จิตใจสงบ ไม่เครียดหรือกังวลมากเกินไป ทำให้จิตใจและ

อารมณ์สงบกล้ามเนื้อผ่อนคลาย ทำให้ลดความปวดได้


3. การเบี่ยงเบนความสนใจจากความปวด เช่น การฟังดนตรี ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เป็นต้น


4. การใช้หมอนประคองบริเวณแผลผ่าตัดทรวงอก ระหว่างการเคลื่อนไหวร่างกาย หรือ การบริหารการหายใจเช่น การหายใจลึกๆ การไอหรือดูดเสมหะจะช่วยบรรเทาความปวดแผลได้


5. การเปลี่ยนท่าที่ถูกต้อง เช่นใช้วิธีการตะแคงตัว

ในการเปลี่ยนท่าจากนอนเป็นนั่ง หรือจากนั่งเป็นนอน

จะช่วยลดการเกร็งกล้ามเนื้อ และการตึงของแผลผ่าตัด

จากการเปลี่ยนท่านั่งหรือนอนได้ เป็นต้น

· ประโยชน์ของการบรรเทาปวดที่มีประสิทธิภาพ

การบรรเทาความปวดที่มีประสิทธิภาพนั้น จะช่วยป้องกัน ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งช่วยให้ท่านฟื้นหายเร็วขึ้นได้ ดังนี้

1. ช่วยป้องกันไม่ให้หัวใจทำงานหนัก จากการตอบสนองต่อความปวด

2. ช่วยให้ท่านไอได้มีประสิทธิภาพ จึงไม่มีเสมหะคั่งค้างในปอด

สามารถบริหารการหายใจ โดยหายใจโดยหายใจเข้า-ออกลึกๆ

หรือใช้อุปกรณ์ได้ดีทำให้ปอดขยายตัวได้เต็มที่ จึงไม่เกิดภาวะ

ปอดแฟบหรือ ปอดอักเสบ

3. ทำให้ท่านสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น

4. ทำให้ท่านสามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสม และลุกออกจากเตียง เพื่อนั่งข้างเตียงยืนเดินรวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆ ได้เร็วขึ้น

5. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ อันเนื่องมาจากความปวด

6. ลดการเกิดผลกระทบทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น ลดความกลัว ความวิตกกังวล เครียด หงุดหงิด กระวนกระวาย เป็นต้น

 

 

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14382937