Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home
ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมโดยไม่ต้องผ่าตัดสำเร็จ เป็นครั้งแรก

ทาวี่ (TAVI, Transcatheter Aortic Valve Implantation) คืออะไร

ทาวี่หรือการเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเอออร์ติกด้วยเทคนิคการใช้สายสวนแบบไม่ต้องผ่าตัดคือ คือการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะการตีบรุนแรงของลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจห้องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายที่เรียกลิ้นหัวใจเอออติกส์ (aortic valve) ซึ่งการตีบโดยส่วนมาก จะเกิดจากความเสื่อมของลิ้น (sclerodegenerative) และส่วนน้อยเกิดจากความผิดปกติ  หรือพิการของลิ้น มาแต่กำเนิด  โดยการรักษาทำได้โดย ใส่ลิ้นเทียมผ่านหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ เช่นหลอดเลือดแดงที่ ขา    และแขน หรือเจาะผ่านผิวหนังบริเวณยอดหัวใจ(apex)โดยไม่ต้องทำการผ่าตัดทรวงอก ซึ่งจะทำใน ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัดเท่านั้น เนื่องด้วยในผู้ป่วยที่มีการตีบของลิ้นหัวใจเอออติกส์ที่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงในการผ่าตัดน้อย หรือ ปานกลาง ยังถือว่าวิธีการผ่าตัดทางทรวงอกเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา

ผู้ป่วยกลุ่มใดเหมาะที่ใช้วิธีการรักษานี้

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการจากภาวะโรคลิ้นหัวใจเอออติกส์ตีบรุนแรง  โดยทางการแพทย์จะมีวิธีประเมินความรุนแรง  ของอาการจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจเพิ่มเติ่ม  ซึ่งโดยมากผู้ป่วย จะต้องมีอาการรุนแรงจึงเหมาะในการทำ TAVI
  2. ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงสูงจากการผ่าตัด  ซึ่งจะมีมาตรฐานในการประเมินปััจจัยเสี่ยงดังกล่าวจากแพทย์ผู้ดูแล
  3. ผู้ป่วยและญาตให้ความยินยอมในการรักษาด้วยวิธีดังกล่าวหลังได้รับข้อมูล  รวมถึงผลของการรักษา ผลแทรกช้อน  จากการรักษาด้วย TAVI
  4. เป็นผู้ป่วยที่คาดว่าจะมีชีวิตยืนยาวเกิน  1 ปี หรือ ไม่ได้อยู่ในภาวะของโรค มะเร็งระยะลุกลาม

 

ผลของการรักษาในปัจจุบันเป็นเช่นไร

ปัจจุบันศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้เปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกโดยเทคนิคการใช้สายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด ภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ทั้งหมดจำนวนมากกว่า 13 ราย นับเป็นสถาบันที่ทำทาวี่ด้วย Corevalve มากที่สุดของประเทศไทย

 

ผลการรักษาผู้ป่วยเป็นที่น่าพอใจไหม ราคา แพงมากไหม

เนื่องด้วยยังเป็นการรักษาใหม่ ผู้ป่วยยังไม่มากพอ จึงทำให้ราคาอุปกรณ์ต่างๆมีราคาแพง  แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในการรักษา ความพร้อมของภาวะคนไข้  รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่คุณจันทิมา ศูนย์โรคหัวใจ ตีกสก ชั้น 17 เบอร์โทรศัพท์ 02-2564917 หรือ คลิ๊กที่นี่

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14417899