โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างหนาผิดปกติแต่กำเนิด (Hypertrophic Cardiomyopathy) |
![]() |
![]() |
![]() |
วันเสาร์ที่ 01 กุมภาพันธ์ 2014 เวลา 22:15 น. |
There are no translations available. เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างมีความหนากว่าปกติโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด ถ้าตัดชิ้นเนื้อมาตรวจก็จะพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นหนาตัวขึ้นมา เซลกล้ามเนื้อเรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบและมีพังผืดแทรกอยู่ทั่วๆไป กล้ามเนื้อหัวใจที่หนา คือกล้ามเนื้อหัวใจของหัวใจห้องซ้ายล่าง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นผนังกั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างและขวาล่าง (Interventricular septum) ซึ่งผนังหัวใจจะหนามากจนปิดกั้นการสูบฉีดของเลือดจากหัวใจห้องซ้ายล่างออกไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Hypertrophic Obstructive CardioMyopathy, HOCM) (ดังรูปที่ 1) ![]()
บทความโดย พญ. ปิยนาฏ ปรียานนท์ อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นของผนังหัวใจน้อยลง มีช่องว่างสำหรับการไหลเวียนเลือดในหัวใจน้อย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยง่าย หรือหน้ามืดเป็นลมเวลาออกแรง หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตเฉียบพลันในขณะออกกำลังกาย ซึ่งพบได้ในผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่เคยมีอาการใดๆ มาก่อนก็ได้
จากสถิติพบว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติมาแต่กำเนิดดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดในคนที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ต่างจากกลุ่มคนที่อายุมากกว่า 35 ปี ที่มักจะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน แต่อย่างไรก็ตามโรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างหนาผิดปกติแต่กำเนิดนี้พบได้ไม่บ่อย การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจอัลตร้าซาวน์หัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) แนวทางการรักษา1. รับประทานยา 2. ผ่าตัด เพื่อตัดเอากล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่หนาผิดปกติออก (Surgical myomectomy) 3. ใช้แอลกอฮอล์เข้มข้น ฉีดเข้าสู่หลอดเลือดแดงเส้นที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่หนาผิดปกตินั้นให้บางลง (Alcohol septal ablation) ซึ่งเป็นการรักษาที่จะกล่าวถึงในที่นี้ การฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้นเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง (Alcohol Septal Ablation)หลักการของหัตถการนี้คือ เป็นการทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเฉพาะส่วนที่หนาผิดปกตินั้นขาดเลือด เมื่อไม่มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้น เซลกล้ามเนื้อหัวใจก็จะตายไป ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจที่เคยหนาตัวอยู่นั้น บางลง จนกระทั่งไม่ปิดกั้นทางออกของเลือดจากห้องหัวใจสู่หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้าอีกต่อไป ดังรูปที่ 2 ส่วนวิธีการทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ การฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้น เข้าไปในแขนงของหลอดเลือดแดงเฉพาะที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่ต้องการ ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นหลอดเลือดหัวใจแขนงเล็กมากๆ เมื่อเซลกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นสัมผัสแอลกอฮอล์เข้มข้นซึ่งถือว่าเป็นพิษต่อเซลโดยตรง ก็จะส่งผลให้เซลกล้ามเนื้อหัวใจตาย ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธีนี้ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องจำกัดบริเวณของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ต้องการรักษานั้นให้ได้เฉพาะเท่าที่ต้องการเท่านั้น โดยไม่ให้มีการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจบริเวณอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การรักษาด้วยวิธีนี้จึงต้องใช้แพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญในการทำเป็นพิเศษ ข้อบ่งชี้สำหรับการรักษาด้วยวิธีฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง ผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาผิดปกติแต่กำเนิดที่มีการปิดกั้นการสูบฉีดของเลือดจากห้องหัวใจไปสู่หลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (HOCM) ที่ยังคงมีอาการอยู่แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้ว ผลที่ได้จากการรักษาด้วยวิธีฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง ผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 80 มีอาการดีขึ้น สามารถลดการใช้ยา หรือไม่ต้องใช้ยารับประทานต่อ ผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยวิธีฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง
ขั้นตอนของหัตถการการรักษาด้วยวิธีฉีดแอลกอฮอล์เข้มข้นทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางลง
|