Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

มาทำความรู้จักห้องผ่าตัดหัวใจและทรวงอกแบบทันสมัย ณ ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Monday, 29 December 2014 00:49

ห้องผ่าตัดศัลยกรรมทรวงอกใหม่ทันสมัย ตึก สก. ชั้น 5 ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

เปิดให้บริการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือด และทรวงอกมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 มีจำนวนห้องผ่าตัด 4 ห้อง ขนาด 8 เมตร x 8 เมตร มีระบบอากาศปลอดเชื้อ พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ที่ทันสมัย มีความปลอดภัยสูงสุด ได้มาตรฐานสากล รองรับผู้ป่วยโรคหัวใจและทรวงอกที่อยู่ในภาวะวิกฤติ  และได้ปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2557 เพื่อรองรับการพัฒนาทางเทคโนโลยีทางการแพทย์และนับเป็นหนึ่งในห้องผ่าตัดที่ทันสมัยที่สุด ผนวกกับทีมศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญเฉพาะทาง

Read more...
 
เครื่องแวด-VAD หรือ เครื่องช่วยการไหลเวียนของเลือด (Ventricular Assisted Device)
Tuesday, 02 December 2014 00:13

ภาวะหัวใจอ่อนแรง (ฮาร์ท-แฟ็ล-เลียร์ Heart failure) ภาวะหัวใจวาย หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อย โดยหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อย หายใจลำบาก นอนราบไม่ได้ มีน้ำค้างในร่างกาย และมือเท้าบวม หลายๆครั้งต้องเข้านอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ภาวะหัวใจอ่อนแรงนี้ บางครั้งเป็นรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต การรักษาภาวะหัวใจอ่อนแรงประกอบด้วยหลายวิธีแล้วแต่ระดับความรุนแรงของโรค เริ่มตั้งแต่การปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวัน การักษาด้วยยา การใส่เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ จนไปถึงการปลูกถ่ายหัวใจ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการรักษาใหม่ ที่สามารถทำให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจอ่อนแรงขั้นสุดท้ายมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือ เครื่องช่วยการไหลเวียนของเลือด (“เวน-ทริ-คู-ล่าร์ แอส-สิสท์-เทด ดี-ไวส์”- ventricular assisted device หรือ “เครื่องแวด”-VAD) บางครั้งอาจจะเรียกว่าเครื่องพยุงหัวใจ หรือ หัวใจเทียม เพื่อให้เป็นการง่ายต่อการเรียกผู้เขียนขออนุญาตเรียกทับศัพท์ว่าเครื่องแวด-VAD

Read more...
 
โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างหนาผิดปกติแต่กำเนิด (Hypertrophic Cardiomyopathy)
Saturday, 01 February 2014 22:15
เป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับพันธุกรรม พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายล่างมีความหนากว่าปกติโดยไม่มีสาเหตุแน่ชัด ถ้าตัดชิ้นเนื้อมาตรวจก็จะพบว่ากล้ามเนื้อหัวใจบริเวณนั้นหนาตัวขึ้นมา เซลกล้ามเนื้อเรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบและมีพังผืดแทรกอยู่ทั่วๆไป กล้ามเนื้อหัวใจที่หนา คือกล้ามเนื้อหัวใจของหัวใจห้องซ้ายล่าง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นผนังกั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างและขวาล่าง (Interventricular septum) ซึ่งผนังหัวใจจะหนามากจนปิดกั้นการสูบฉีดของเลือดจากหัวใจห้องซ้ายล่างออกไปยังหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Hypertrophic Obstructive CardioMyopathy, HOCM) (ดังรูปที่ 1)

 

Read more...
 
เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD)
Monday, 30 December 2013 15:06

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บทความโดย พ.ญ. ชญานุตม์ สุวรรณเพ็ญ

เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวร (Automated Implantable Cardioverter-Defibrillator, AICD) เป็นอุปกรณ์ที่ฝังในร่างกายเพื่อตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจตลอดเวลา และปล่อยไฟฟ้ารักษาในทันทีที่พบหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะชนิดอันตรายแก่ชิวิต (VT/VF) เพื่อทำให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นหัวใจในกรณีที่พบหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ทั้งนี้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวรไม่มีผลต่อการบีบตัวของหัวใจหรือช่วยให้ภาวะหัวใจล้มเหลวดีขึ้น

แพทย์จะพิจารณาฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติชนิดถาวรในผู้ป่วยที่มีประวัติรอดชีวิตจากหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะ(VT/VF) หรือผู้ที่กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อนมากแม้จะไม่เคยมีประวัติหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดจังหวะก็ตามเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน

Read more...
 
Management of VF storm in Brugada syndrome
Thursday, 04 April 2013 04:56

Brugada syndrome (BS) is an arrrhythmogenic disease characterized by a structurally normal heart and an increased risk of sudden cardiac death from ventricular fibrillation. BS is found worldwide but it is the most common cause of sudden cardiac death in young men in Thailand and other countries in Southeast Asia. The disease has been prevalent in Northeastern Thailand. Most victims were healthy young men who died unexpectedly at night. The automatic implantable cardioverter defibrillator (AICD) is currently the only proven treatment that can prevent sudden death. However, the device does not prevent but terminate the VF. (written by Buncha Sunsaneewitaykul, MD, MSc )

Ventricular Fibrillation Treatment and Causes | ACLS.com Resources

Read more...
 
<< Start < Prev 1 2 3 4 5 6 7 8 Next > End >>

Page 5 of 8

KCMH Cardiac Center Staff Login

Scientific Meetings and Academic Calendar

 

 

CARDIAC CENTER OFFICE

Statistics

Content View Hits : 14383212