ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) คือ กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้องประมาณ 50% จะเสียชีวิตภายใน 5 ปี ปรัชญาการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวคือทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เหนื่อย และ มีอายุยืนยาว การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวสามารถทำได้โดย การรักษาด้วยยา ซึ่งประมาณ 80% สามารถทำให้ผู้ป่วยบรรลุปรัชญาในการรักษาดังกล่าวข้างต้น หากการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล อาจพิจารณาการรักษาในขั้นสูง ซึ่งได้แก่ การฝังเครื่องให้หัวใจบีบตัวสัมพันธ์กัน (Cardiac re synchronization therapy defibrillator (CRT-D)) หรือ เครื่องพยุงหัวใจ (หัวใจเทียมโลหะ) หรือ Ventricular assist device (VAD) หรือ การปลูกถ่ายหัวใจ (Heart Transplantation)
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ถือเป็นสถาบันแห่งแรกในประเทศไทยและ Southeast Asia ที่ทำการปลูกถ่ายหัวใจสำเร็จ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2530 ปัจจุบัน โดย ศ. นพ. เชาวลิต อ่องจริต ศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยรายแรก (นายพิชิต บุญเชิด) ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ีดี และปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ยังคงเป็นสถาบันที่ทำการปลูกถ่ายหัวใจมากที่สุดในประเทศ